ไขข้อสงสัย ขนาดกิโลกรัมบนเครื่องซักผ้า ต้องเป็นน้ำหนักของผ้าแห้ง หรือผ้าเปียกกันแน่?
เวลาเลือกดูเครื่องซักผ้า เรามักจะเห็นการระบุขนาดน้ำหนักบนเครื่อง เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยไม่น้อย ว่าน้ำหนักดังกล่าวนั้นเป็นของ "ผ้าแห้งก่อนซัก" หรือ "ผ้าเปียก" กันแน่
โดยเมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา หนุ่มคนหนึ่งได้ตั้งกระทู้พันทิปถามถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า "สงสัยมานานแล้วว่า เครื่องซักผ้าที่ระบุว่าสามารถรับน้ำหนักผ้าได้กี่กิโลกรัมนั้น น้ำหนักนี้ เป็นน้ำหนักของผ้าก่อนหรือหลังถูกน้ำ เพราะอย่างที่รู้กันว่า เวลาผ้าโดนน้ำเข้าไป น้ำหนักก็จะมากขึ้นอีกมากเลย"
พร้อมตั้งอีกหนึ่งคำถามว่า เครื่องซักผ้ารุ่นที่ซักอบจบในเครื่องเดียว และระบุหน้าเครื่องว่าสามารถซักผ้าได้...กิโลกรัม อบผ้าได้...กิโลกรัม ส่วนใหญ่ระบุน้ำหนักอบผ้าน้อยกว่าน้ำหนักซักผ้าทั้งนั้น เช่น ซักผ้าได้ 10 กิโลกรัม/อบผ้าได้ 7 กิโลกรัม หมายความว่าเวลาซักผ้า 10 กิโลไปแล้ว พอถึงตอนอบผ้าต้องเอาผ้าออกมา 2 กิโลหรือ?
เรียกได้ว่ากระทู้ครั้งนี้ได้รับความสนใจล้นหลาม โดยมีผู้มาช่วยไขข้อสงสัยว่า ให้คำนวณจากน้ำหนักของ "ผ้าแห้ง" ส่วนการอบแห้งนั้น ทุกแบรนด์มักจะมีความจุน้อยกว่าระบบซัก สามารถซักผ้าและอบแห้งในน้ำหนักที่กำหนด เช่น ซักผ้าได้ 10 กิโลกรัม /อบผ้าได้ 7 กิโลกรัม แนะนำให้ใส่ผ้าไม่เกิน 7 กิโลกรัม หากใส่น้ำหนักเกินอาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพแบบเต็มตามที่บริษัทกำหนด
ส่วนใครที่สงสัยว่าทำไมบางครั้งถึงไม่สามารถใส่ผ้าแห้งตามน้ำหนักที่ระบุลงไปได้ทุกชนิด ทางเพจเคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัวได้ให้ความรู้ว่า ปกติแล้วผ้าแห้งแต่ละชนิดนั้นมีความสามารถในการอุ้มน้ำ (water pickup) หรือค่า Wet pickup / อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (aspect ratio) ที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้บางทีเครื่องซักผ้าที่มีขนาด 6.5 กิโลกรัม สามารถใส่กางเกงยีนส์ (ที่ทั้งอุ้มน้ำดี และมี aspect ratio ที่สูง) ซักลงไปได้แค่ 2-3 ตัวเท่านั้น
ขอบคุณที่มา pantip, facebook
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ไขข้อสงสัย ขนาดกิโลกรัมเครื่องซักผ้า ต้องเป็นผ้าแห้ง หรือผ้าเปียกกันแน่?
ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
- Website : https://www.khaosod.co.th
2024-10-01T09:04:11Z dg43tfdfdgfd